ตัวชี้วัด
- อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ (ง 3.1 ม.2/4)
ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง
ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้
ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน
และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ
หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล
ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น
โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่
ๆ ได้ ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application
Software)
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) คือ
ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตเป็นคนสร้างเพื่อให้จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานพื้นฐานต่างๆ
ของรับบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้นอักขระ
แล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ จากนั้นนำข้อมูลไปแสดงผลบนภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์
การจัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำ เป็นต้น
2)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
คือ
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ
ออกจำหน่าย การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย อาจแบ่ง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นสองกลุ่ม คือซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เฉพาะงาน ซึ่งปัจจุบันมีมากมาย
เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม